เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า

2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week1


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถวิเคราะห์และให้เหตุผลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
Week
Input
Process  
Output
Outcome






1
 8-11
 สิงหาคม
2559




โจทย์ :สร้างแรงบันดาลใจโดยการเดินสำรวจป่า
Key Question
คุณค่าของป่าโคกหีบสำคัญอย่างไร?
ป่าโคกหีบมีความสำคัญอย่างไร?
ถ้าไม่มีป่าจะเป็นอย่างไร?
เครื่องมือคิด :-Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของป่าโคกหีบ
 Card and Chartวิเคราะห์  สาเหตุและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการสูญเสียป่าไม้
- Place Mat  การวิเคราะห์  วิพากษ์เกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของป่าโคกหีบ
- Show and Share นำเสนอชื่อหน่วยพร้อมให้เหตุผล
- Wall Thinking สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้แผ่นใหญ่
สื่อ/อุปกรณ์
-  www. worldometers.info/th และภาพยนตร์เรื่องecho จิ๋วก้องโลก
- ป่าโคกหีบ
- กระดาษ A4
สี
กระดาษ ปรู๊ฟ

วันจันทร์ 2 ชั่งโมง
ชง
ครูให้นักเรียนดูสถิติการสูญเสียป่า การเพิ่มประประชากร การเพิ่มความต้องการใช้พลังงาน และสถิติอื่นๆที่สำคัญ จากwww. worldometers.info/th และภาพยนตร์เรื่อง echo จิ๋วก้องโลก
เชื่อม 
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ถ้าไม่มีป่าจะเป็นอย่างไร?
ใช้
นักเรียนวิเคราะห์  สาเหตุและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการสูญเสียป่าไม้ โดยใช้เครื่องมือคิด Card and Chart
นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการณ์ในหัวข้อ “ป่ามี ป่าหมด”
วันอังคาร 2 ชั่งโมง
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ป่าโคกหีบมีความสำคัญอย่างไร? / เพราเหตุใดเราต้องไปเดินสำรวจป่า?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
เชื่อม
- สำรวจป่าในชุมชนที่ใกล้ที่สุด (ป่าโคกหีบ)
- อภิปรายแลกเปลี่ยนสนทนาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจป่า
ใช้
นักเรียนวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในป่าชุมชน หลังจากที่เดินสำรวจ โดยใช้เครื่องมือคิด Place Mat

วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ให้น่าสนใจและเป็นการเรียนรู้จากปัญหาว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น?”
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอชื่อหน่วย ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
จากนั้นจับคู่แลกเปลี่ยนชื่อหน่วยและเขียนชื่อใหม่ที่ทั้งมาจากการคิดร่วมกันของทั้งสองคน  สุดท้ายนำชื่อหน่วยแต่ละคู่มาระดมความคิดตั้งชื่อหน่วยที่ทุกคนทั้งห้องเห็นด้วยและพอใจ 1 ชื่อ ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share
ใช้
  นักเรียนจับคู่ออกแบบป้ายชื่อโครงงานให้น่าสนใจและสอดคล้องกับโครงงานที่เรียนเพื่อใช้ในการตกแต่งบรรยากาศในชั้นเรียน

วันพฤหัสบดี (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับป่าและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้?”
ใช้
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับป่า (รายบุคคลลงกระดาษ A4)

วันศุกร์ (3ชั่วโมง)
เชื่อม
นักเรียนจับคู่ ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ที่แต่ละคนเขียนไว้ให้แต่ละคู่ช่วยกันดู (สิ่งที่เหมือนกันเลือกเพียงข้อเดียว สิ่งที่แตกต่างยกมาทั้งหมด)
ใช้
นักเรียนช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการสูญเสียป่าไม้
 การวางแผนการเดินป่าและการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
การออกแบบวาดภาพ“ป่ามี ป่าหมด”
การเดินสำรวจป่าโคกหีบ
- การอภิปรายและวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจป่า
- การระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- การออกแบบตกแต่งชั้นเรียนให้สอดคล้องกับหน่วยที่เรียน
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ชิ้นงาน
สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับป่าลงในสมุด
วิเคราะห์ปัญหาป่าในชุมชนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Card and Chart)
ภาพวาด “ป่ามี ป่าหมด”
-  Place Matวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในป่าชุมชน หลังจากที่เดินสำรวจ
- ชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ความรู้
สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถใช้ชีวิตในการเดินป่า
มีการวางแผนและเตรียมพร้อมในการเดินป่า
ทักษะการปฐมพยาบาลในการเดินป่า
ทักษะในการจดบันทึก
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อเขียนสรุปความเข้าใจได้
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเดินป่า
สามารถคิดสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าโคกหีบได้
สามารถคิดเชื่อมโยงความพันธ์ระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่าง คน พืช สัตว์ และป่า
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่นInternet ผู้รู้ ห้องสมุดได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในการเดินสำรวจป่าโคกหีบผ่านชิ้นงาน เช่น บทความ นิทานภาพวาด

คุณลักษณะ :
- มีความอดทนในการเดินป่า การใช้ชีวิตในป่า
มีความเคารพสถานที่ (ป่าโคกหีบ)และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการเดินป่าด้วยความนอบน้อม
รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา
มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน




























































































































































































ตัวอย่างกิจกรรม
















ตัวอย่างชิ้นงาน


















สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์แรกของการเปิดเรียน Quarter2 พี่ๆป.6 เริ่มต้นด้วยการกิจกรรมจิตศึกษาโดยการฟังเสียงธรรมชาติ(เสียงจากป่าโคกหีบ) ในชั่วโมงPBL พี่ๆได้เริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจด้วยการดูภาพยนตร์เรื่อง “Eco จิ๋วก้องโลก” ก่อนออกจากห้องเรียนเพื่อไปรับประทานอาหารในตอนเที่ยงพี่ๆป.6 หลายคนบอกเพื่อนว่าปิดไฟปิดพัดลมด้วยนะเดี๋ยวจะเป็นอาหารให้ผีไฟเหมือนในหนังนะ จากนั้นๆพี่ๆจึงได้วาดภาพ “ป่ามี ป่าหมด” ในจินตนาการของตนเองหลายคนวาดออกมาเป็นฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ก็จะมีต้นไม้และสัตว์นาๆชนิด ส่วนป่าหมดก็จะเป็นความแห้งแล้งการตัดไม้ฯลฯ แต่พี่พัดเลือกที่จะวาดรูปโรงงานอุตสาหกรรมและความวุ่นวายในเหมืองหลวงแทน ก่อนที่จะไปเดินสำรวจป่าโคกหีบพี่ๆได้แบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีโจทย์เหมือนกันคือ “เสียงที่ได้ยินในชั่วโมงจิตศึกษาเหมือนหรือต่างกับได้ยินในป่าอย่างไร?,รู้จักต้นไม้กี่ชนิด?,มีสิ่งมีชีวิตใดบ้าง?,เสียงที่ได้ยินเป็นนกชนิดใดและมีกี่ตัว?,ป่าโคกหีบเป็นป่าประเภทใด?และใช้เส้นทางใดในการเดินทาง?”
    วันพุธเวลา 13.00 น. กลุ่ม1 มีครูณี,ครูหนูและพี่ๆศิษย์เก่าร่วมเดินทางไปกับพี่ๆป.6 ส่วนพี่กลุ่มสองมีครูดอกไม้ร่วมเดินทางไปกับพี่ๆ ตลอดเส้นทางของการเดินจะยินเสียงพี่เบ็คอยู่ไม่ขาดระยะเลยทีเดียว ครูครับต้นอะไรครับ ครูครับกินได้ไหมครับ เสียงอะไรครับ ส่วนพี่มายด์และพี่คิมเป็นผู้จดบันทึกชื่อต้นไม้และสิ่งมีชีวิตต่างๆ พี่พัด พี่อายและ พี่เอสทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกเส้นทางอย่างละเอียด ครูดอกไม้พาพี่ๆเดินลัดเลาะตามทางน้ำบ้างในป่าที่ไม่ใช้ทางเดินบ้างทำให้พี่ๆตื่นเต้นและได้เห็นเส้นทางที่ไม่เคยเดินมาก่อนอีกด้วย พี่ๆกลุ่มสองเดินรวดเดียวจนถึงบุหีบโดยไม่ได้พักระหว่างทางแต่อย่างใด ทำให้พอถึงบุหีบหลายคนถึงกลับหมดแรงเลยทีเดียว
    พี่ๆได้หยุดพักดื่มน้ำสำรวจรอบๆบุหีบ แชร์ของมูลของแต่ละคนที่จดบันทำมาและเดินทางกลับโดยใช้เส้นทางใหม่และเส้นทางนี้มีต้นไผ่ไร่ที่ค้อนข้างขึ้นสูง พี่เบ็ค: ครูครับหันมาดูพวกผมหน่อยครับครูเดินสบายเลยผมนี้ถึงคอเลยครับครู ด้วยแดดในยามบ่ายทำให้พี่ๆหมดแรงไปตามๆกันมาถึงห้องเรียนต่างพากันจองหน้าพัดลมเลยทีเดียว ในวันต่อมาพี่ๆได้สรุปความเข้าใจจากโจทย์ที่ได้รับผ่านชาร์ตความรู้และเนื่องด้วยสมาชิกในกลุ่มค่อนข้างเยอะทำให้มีเพื่อนบางคนแอบเล่นกันบ้าง ภายในกลุ่มจึงแบ่งหน้าที่ให้แต่ละคนได้มีงานทำ จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆป.6 ชักเย่อความคิด “การเดินป่าในครั้งนี้พี่ได้อะไรจากป่าและให้อะไรแก่ป่า” แนวโน้มส่วนใหญ่พี่ๆ ป.6 จะเห็นสิ่งที่ตนเองได้รับจากป่าไม่ว่าเป็นผลไม้ทานได้ ความร่มเย็นหรือความรู้ใหม่ ส่วนสิ่งที่พี่ๆได้ให้แก่ป่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นก๊าซ CO2 จากนั้นครูจึงกระตุ้นคิดด้วยคำถามว่า “เพราะเหตุใดเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงที่เราเดินในป่าทำไมป่าให้อะไรเราตั้งมากมายแต่สิ่งที่เราให้แก่นั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น?” จากคำถามของครูทำให้พี่ป.6หลายคนคิดต่อว่าแล้วที่ผ่านมามนุษย์เราเคยให้อะไรแก่ป่าบ้างไหม แล้วทำไมป่าลดลงเรื่อยๆ จากนั้นพี่ๆจึงทำการสรุปสัดาห์ที่1

    ตอบลบ