เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า

2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6 : สามารถอธิบายประโยชน์ของสมุนไพรใกล้ตัวอย่างน้อย ชนิด และความเชื่อเกี่ยวกับป่าชุมชนโคกหีบ
Week
Input
Process  
Output
Outcome


6
12-16
กันยายน
2559
โจทย์
ภูมิปัญญา/นักอนุรักษ์/พืชสมุนไพร
ป่าโคกหีบ
-  เส้นทางสายวัฒนธรรม
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าในป่ามีสมุนไพรที่รู้จักชนิดใด อะไรบ้าง?
- ทำไมถึงเอาสมุนไพรมาเป็นยารักษาโรค?
- พืชในป่าที่สามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรมีอะไรบ้าง ใช้อย่างไร?
-     ป่าโคกหีบมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
-     บุหีบมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรกับปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินพิมาย?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดตลอดQuarter นี้
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน ภูมิปัญญา/พืชสมุนไพร
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับป่าโคกหีบและประวัติศาสตร์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับป่าโคกหีบและประวัติศาสตร์เส้นทางวัฒนธรรม
สื่อ/อุปกรณ์
- คลิป “ปลูกผักกินเอง”
- เรื่องเล่าตำนาน “ท้าปาจิตกับนางอรพิม”
บรรยากาศในห้องเรียน
ผู้รู้/ผู้นำชุมชน
ผู้ปกครองนักเรียน
ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
กระดาษ ปรู๊ฟ

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูให้นักเรียนดูวีดีโอปลูกผักกินเอง ที่มีครูใหญ่และครูป้อมแนะนำสมุนไพรและสรรพคุณพร้อมกับการทำสลัดสมุนไพร
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin ชื่อสมุนไพรที่ครูใหญ่และครูป้อมแนะนำ และพืชสมุนไพรที่นักเรียนรู้จักและที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น
ใช้
ครูทำฉลากให้นักเรียนจับ โดยให้หาชื่อสมุนไพรคนละ ชนิด และสรรพคุณพร้อมกับลักษณะและวิธีการใช้ โดยสรุปเป็นชิ้นงานตามความสนใจ แล้วนำมานำเสนอ Show and share ในชั้นเรียนต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น
วันอังคาร (ชั่วโมง)
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเพื่อทบทวนสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรใกล้ตัวในวันจันทร์ที่ผ่านมา เช่น
นักเรียนรู้จักสมุนไพรอะไรบ้างและมีสรรพคุณอย่างไร
นักเรียนร่วมกันตอบคำถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เชื่อม
เชิญผู้ปกครองมาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและประสบการณ์ในการใช้สมุนไพรในการรักษาเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
ใช้
 สรุปกิจกรรมโดยการใช้ Card & Chart  ที่ผู้ปกครองได้มาให้ความรู้พร้อมกับการประกอบอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูกระตุ้นการคิด บุหีบมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และมีความเชื่อมโยงกันกับปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินพิมายหรือไม่อย่างไร
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เชื่อม
 นักเรียนฟังเรื่องเล่าตำนานจากคุณครูเรื่องเล่า ตำนาน (ท้าวปาจิตกับนางอรพิม) พิธีกรรมต่างๆในป่าโคกหีบและแสดงความคิดเห็นในการฟังเรื่องตำนานครั้งนี้กับเพื่อนๆ และนักเรียนช่วยกันสังเกตเกี่ยวกับร่องรอยของบุหีบ
-  ครูเชิญผู้นำหมู่บ้านมาให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับที่มา ประเพณีพิธีกรรม และความเชื่อของชาวบ้านที่มีต่อป่าโคกหีบ
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นกับผู้นำหมู่บ้าน
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรใกล้ตัวถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างไร
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เชื่อม
ครูให้นักเรียนจับกลุ่มทำชิ้นงานคือ วีดีโอความรู้แนะนำประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรใกล้ตัว
นักเรียนวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและลงมือถ่ายทำ
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6



ภาระงาน
- สรรพคุณสมุนไพรใกล้ตัว ชนิด (งานเดี่ยว)
- การถ่ายคลิปวีดีโอ สมุนไพรใกล้ตัว ชนิด (งานกลุ่ม)
อาหารสมุนไพรเพื่อชิ้นงาน
- สรรพคุณสมุนไพรใกล้ตัว   ชนิด (งานเดี่ยว)
- วีดีโอ สมุนไพรใกล้ตัว ชนิด (งานกลุ่ม)
อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
-     สรุปการเดินสำรวจป่าครั้งที่ 4
-     สรุปสัปดาห์ที่  6
สุขภาพ
-     การสรุปการเดินสำรวจป่าครั้งที่ 3
-     สรุปสัปดาห์ที่  6
-     การนำเสนอชิ้นงาน

ความรู้
สามารถอธิบายประโยชน์ของสมุนไพรใกล้ตัวอย่างน้อย ชนิด และความเชื่อเกี่ยวกับป่าชุมชนโคกหีบ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานกลุ่ม สามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างจากตนได้อย่างมีความสุข
สามารถสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
-สามารถแก้ปัญหา มีวิธีการในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่องานที่ทำ
สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิต
ผ่านการลงมือทำชิ้นงานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เส้นทางสายวัฒนธรรม ป่าโคกหีบ
สามารถสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
ทักษะการจัดการข้อมูล 
สามารถค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่
 เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
















































































































ตัวอย่างกิจกกรรม













ตัวอย่างชิ้นงาน

 







 
 
 

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้พี่ๆต้องศึกษาเรื่องสมุนไพร จากที่ได้วางแผนไว้ว่าจะให้พี่ๆดูคลิปครูใหญ่และครูป้อมจากที่ได้แลกเปลี่ยนในวง PLC ครูฝนได้แลกเปลี่ยนว่าพี่ๆ เคยได้ดูมาแล้วเมื่ออยู่ชั้นป.4 ครูดอกไม้จึงให้พี่ๆแบ่งกลุ่มเพื่อค้นคว้าหาสมุนไพรจากห้องสมุดให้ได้มากที่สุดอย่างน้อยมากกว่า 100 ชื่อ พี่เบ็ค: ครูครับ 100 ชื่อจะหาได้ไหมครับ ขอใช้อินเทอร์เน็ตได้ไหมครับ? เมื่อทุกครั้งที่ให้สืบค้นข้อมูลพี่ๆจะถามหาอินเทอร์เน็ตทันทีและเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตพี่ๆจะคัดลอกข้อมูลมาวางโดยไม่ผ่านการจัดกระทำใดๆ ครั้งนี้จึงอยากให้พี่ๆฝึกฝนการจัดการข้อมูลและรู้จักแสวงหาอีกทั้งยังอยากให้พี่ๆซึมซับบรรยากาศให้ได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดหนังสือมากขึ้น จากการสังเกตขณะที่พี่ๆค้นคว้าข้อมูลหลายคนจะเปิดหาไปยังเนื้อหาที่ตนเองต้องการเท่านั้น เช่น จะค้นหาสมุนไพรพี่ๆจะหาหนังสือที่ชื่อว่าสมุนไพรหรือหาหนังสือที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นและเมื่อได้หนังสือพี่ๆจะเปิดไปยังหน้าที่ตัวเองต้องการเท่านั้นและเมื่อได้ตรวจทานสมุดที่พี่ๆจดบันทึก พี่ๆจะจดเพียงชื่อและสรรพคุณ เช่น กระเพราแก้อาการท้องอืด, มะขามแขกช่วยฆ่าพยาธิ ฯลฯ คุณครูจึงได้ให้พี่ๆแต่ละกลุ่มทดลองจดหมวดหมู่สมุนไพรที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้ามาโดยแต่ละกลุ่มออกแบบเกณฑ์การจัดแบ่งด้วยตนเอง แต่ละกลุ่มก็มีเกณฑ์การบ่างที่ต่างกันไปเช่น ลักษณะของลำต้น, การออกฤทธิ์, พบตามบ้านเรือนและในป่า ฯลฯ
    ครูดอกไม้ : ทำไมพี่ๆถึงใช้เกณฑ์นี้ในการแบ่งคะ? พี่กลุ่มหนึ่ง: เพราะว่าจะได้จำง่ายค่ะ ครูดอกไม้: สมุนไพรคืออะไรคะ? พี่กลุ่มสอง: สมุนไพรคือพืชที่ถูกนำมาทำเป็นยาครับ/ค่ะ
    จะเห็นได้ว่าพี่ๆนำเพียงข้อมูลที่เป็นDATAมาจัดเรียงเท่านั้น ครูดอกไม้จึงให้พี่ๆจัดกระทำข้อมูลใหม่อีกครั้งโดยแต่ละกลุ่มจะได้รับโจทย์ที่แตกต่างกันไปเช่น สมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคต่างๆได้นั้นออกฤทธิ์และนำไปใช้อย่างไร?, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ใช้เป็นเกณฑ์การแบ่งมีอะไรบ้างอย่างไร?, สมุนไพรแท้จริงแล้วคืออะไรแบ่งได้อย่างไรบ้าง?, สมุนไพรที่ถูกนำไปใช้เป็นยานั้นต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง/อย่างไร?
    จากการนำเสนอข้อมูลของพี่ๆในครั้งนี้จะเห็นได้ว่าข้อมูลหรือDATAทีมีอยู่อย่างมากมายนั้นจะไม่เป็นผลใดๆเลยถ้าเพียงแค่ถูกคัดลอกจำแล้วเล่าต่อ พี่มายด์: ครูคะทำไมนำเสนองานกับครูถึงผ่ายยากจังเลยคะ? ครูดอกไม้: แล้วพี่ๆได้เรียนรู้อะไรบ้างคะจากการนำเสนองานครั้งนี้? พี่นุ่น: หนูว่าการที่เราจะไปเล่าหรือไปถ่ายทอดอะไรให้ใครฟังเราต้องรู้และเข้าใจกับเรื่องนั้นให้ครอบคลุมในทุกๆด้านค่ะ เหมือนหนูนำเสนอค้นคว้าแล้วหนูไม่ได้เข้าใจจริงๆพอหนูไปนำเสนอหนูก็เลยไม่ผ่านค่ะ ครูดอกไม้: พี่คิดว่าจะดีกว่านี้ไหมถ้า..........? พี่กัณฑ์: จะดีกว่านี้ครับถ้าผมไม่รีบร้อนจนเกินไป พี่ทับทิม: จะดีกว่านี้ครับถ้าเราแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มได้ดีกว่านี้ จากนั้นพี่ๆจึงได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามรูปแบบที่ตนเองถนัด

    ตอบลบ