เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า

2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 4 : นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของป่าและระบบนิเวศภายในป่าแต่ละประเภท
Week
Input
Process  (PBL)
Output
Outcome
4



29 ส.ค.
 -
2 ก.ย. 2559


โจทย์ 
- ประเภทของป่า
- ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ของป่า
Key Questions :
- ทำไมป่าแต่ละพื้นที่มีต้นไม้แตกต่างกัน?
- ป่าในโลกนี้มีกี่ประเภท?
- ป่าโคกหีบและป่าบริเวณลำน้ำมาศป่าช้า แตกต่างกันอย่างไร?
- ทำไมถึงมีกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าบางชนิด?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนกับป่าชุมชน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานนิทาน
-  Card & Chart  ความแตกต่างมีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างไร
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับ ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหาร ความสัมพันธ์ของป่าและสิ่งมีชีวิต
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
- ป่าโคกหีบและป่า
- ข้างลำน้ำมาศ
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศใน
- ห้องเรียน/มุมหนังสือ
- กระดาษปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
- คลิประบบนิเวศและมหัศจรรย์สิ่งมีชีวิต
- Mind Mapping ระบบนิเวศ  ความสัมพันธ์ของป่า
- สีไม้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
 ครูกระตุ้นความคิดด้วยการถาม ความแตกต่างของป่าแต่ละประเภทที่นักเรียนเคยเห็น ป่าเบญจพรรณ ป่าโคกหีบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น มีความแตกต่างกันอย่างไร และใช้อะไรเป็นเกณฑ์
เชื่อม
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแล้วแบ่งกันไปสำรวจค้นคว้า เกี่ยวกับป่าแต่ละประเภทที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย และทำการจดบันทึกลงสมุด PBL ตามที่ตนเองได้รับมอบหมายภายในกลุ่มให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดแตะละกลุ่มสรุปออกมาเป็นแผ่น Chart ร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มโดยผ่านเรื่องมือคิด Show and Share
ใช้
ครูให้นักเรียนแต่ละคนสรุปออกมาเป็นชิ้นงานของแต่ละคนหลังจากที่เพื่อน Show and Share

วันอังคาร (ชั่วโมง)
ชง
ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน และป่าดิบชื้น
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยผ่าน เครื่องมือการคิด Round Rubin
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มจับฉลากค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับป่าแต่ละประเภทและนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบชาร์ตความรู้และนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
ใช้
ครูให้นักเรียนแต่งนิทานโดยผ่านการ์ตูนช่องหรือรูปเล่มนิทานตามที่ตนเองถนัดเกี่ยวกับป่าประเภทที่ตนเองสนใจ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน หรือป่าดิบชื้น
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม
- นักเรียนจับคู่และครูแบ่งพื้นที่ 9 ตารางวา สำหรับสำรวจพืชและสัตว์และบันทึกข้อมูลลงในแบบสำรวจรวมทั้งถ่ายภาพเพื่อเป็นหลักฐานและประกอบการเรียนรู้ และจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจากป่าแต่ละที่ ที่ได้สำรวจ
หมายเหตุ ผู้ปกครองร่วมเดินสำรวจป่าแต่ละกลุ่ม
กลุ่มละ 2-3 คน
- สำรวจระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในป่า
- Show and Share  ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตที่พบในป่าแต่ละแห่งที่ได้สำรวจ
- Card & Chart ความเหมือนและความต่างของป่าทั้ง 3 ประเภท คือ ป่าโคกหีบ ป่าช้า ป่าลำมาศ
- Round Rubin จัดหมวดหมู่ของสิงมีชีวิตต่างๆ
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยการถามในป่าที่ไปศึกษา สำรวจความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศ และทบทวนเกณฑ์การจำแนกป่าแต่ละประเภท
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ประเภทของป่าทั้ง 3 ประเภท ป่าโคกหีบ ป่าช้า ป่าลำมาศ และระบบนิเวศในป่าโดยผ่านเครื่องมือการคิด  Round Rubin 
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4 ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ  
ภาระงาน
- สมุดภาพหรือนิทานเกี่ยวกับประเภทของป่าป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
- ชาร์ต ประเภทของป่า
- การสำรวจพืชและสัตว์ในพื้นที่ป่าตามกำหนด
- การนำเสนอสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ชิ้นงาน
- สมุดภาพหรือนิทาน เกี่ยวกับประเภทของป่า
ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทของป่า ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
- สำรวจพืชและสัตว์ในพื้นที่ป่าตามกำหนด
การนำเสนอสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4




ความรู้
นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของป่าและระบบนิเวศภายในป่าแต่ละประเภท
ทักษะ
ทักษะชีวิต:
 - สามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างจากตนได้อย่างมีความสุข
สามารถสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
- มีทักษะในการจดบันทึก
- มีทักษะในการทำงานร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
การเคารพสถานที่ (ป่าโคกหีบ)และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเวลาทำงาน
รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา
- มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย

ทักษะการคิด
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาป่าถูกทำลาย
สามารถคิดสร้างสรรค์แนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าโคกหีบได้
- สามารถคิดเชื่อมโยงความพันธ์ระหว่าง
คน พืช สัตว์ และป่า
ทักษะการสื่อสาร
    อธิบายสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในการแก้ปัญหาป่าไม้ถูกทำลายและการอนุรักษ์ป่าไว้ต่อไป
(ภาพวาดหรือการ์ตูนช่อง)



ตัวอย่างกิจกรรม

















ตัวอย่างชิ้นงาน

















สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ว่าด้วยเรื่องประเภทของป่าและระบบนิเวศ พี่ๆต่างพากันค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นในหนังสือหรือตามเว็บไซต์ต่างๆ เรียนรู้ถึงประเภทของป่าแลกเปลี่ยนและนำเสนอแก่กันและกัน ปกติแล้วทุกสัปดาห์พี่ๆจะเดินสำรวจป่ากันในช่วงบ่ายแต่สัปดาห์นี้มีน้องๆป.1 ไปขอร่วมเรียนรู้ด้วยหลังเข้าแถวเคารพธงชาติพี่และน้องต่างจับมือจูงแขนกันเดินเข้าป่า พี่ๆนี้ต้นอะไรครับ? แล้วนี้หละครับต้นอะไร? แล้วเขียนยังไงคะ? เสียงคำถามเหล่านี้ดังตลอดการเดินทางทำให้ได้เห็นอีกมุมที่น่ารักของพี่ผู้ชาย ช่วยกันดูแลน้องช่วยน้องสะกดทีละตัว “อย่าลืมเขียนต้นนี้ด้วยนะ, รีบๆเดินตรงนู้นมีต้นไม้สวยๆให้ดูด้วยนะ” การเข้าป่าในสัปดาห์นี้โจทย์ของพี่ๆคือ เรื่องระบบนิเวศ พี่ๆป.6 ต่างพากันสำรวจห่วงโซ่และสายใยอาหารกันอย่างตั้งใจ
    หลังจากได้ร่วมเรียนรู้กับน้องๆในครั้งนี้ครูดอกไม้จึงให้พี่ๆบรรยายความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ แล้วจึงวาดแผนภาพห่วงและสายใยอาหารตามที่แต่ละกลุ่มได้สำรวจมา และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ