เป้าหมายรายสัปดาห์ที่
3 : สามารถอธิบายคุณค่าและความสำคัญของป่าที่มีต่อตนเอง
สิ่งมีชีวิตและคนในชุมชน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
22-26
สิงหาคม
2559
|
โจทย์:
คุณค่าและความ สำคัญของป่า (ปัจจัยสี่)
Key Questions :
- ถ้าไม่มีป่าโคกหีบจะส่งผลอย่างไรต่อตัวเราและคนในชุมชน?
- นักเรียนจะวางแผนการใช้ชีวิตในป่าอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- ชักเย่อความคิด
“สิ่งใดที่เราให้แก่ป่า สิ่งใดที่เรารับจากป่า”
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของป่าโคกหีบ
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานนิทานเกี่ยวกับป่า
- Place Mat
การวิเคราะห์
วิพากษ์เกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของป่าโคกหีบ
- Round Rubin
การใช้ชีวิตในป่า
สื่อ/อุปกรณ์
- ป่าโคกหีบ
- กระดาษ A4
- สีไม้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
|
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
ถ้านักเรียนอยู่ในป่าจะใช้ชีวิตในป่าได้อย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนการเดินทางสำรวจป่าโคกหีบว่าการเดินทางนี้เราจะไปเพื่ออะไร
ใช้
ชักเย่อความคิด “สิ่งใดที่เราให้แก่ป่า
สิ่งใดที่เรารับจากป่า”
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ป่าให้หลายสิ่งหลายอย่างกับเราแล้วเราให้อะไรป่าได้บ้าง/อย่างไร?”
เชื่อม
-
นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์คำถามจากในขั้นชงผ่านเครื่องมือคิด Place
mat
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ Place mat
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการเดินป่าโคกหีบในครั้งที่ผ่านมา?”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ตนเองได้เห็น เช่น
ป่าไม้ถูกตัด มีคนนำขยะไปทิ้งในป่า ฯลฯ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนจะมีส่วนช่วยป่าโคกหีบอย่างไร?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เช่นปลูกต้นไม้
เก็บขยะ ทำป้ายรณรงค์ ทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนให้รักป่า
และมีความรู้สึกว่าตนเองก็เป็นเจ้าของป่า
ป่าคือสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ฯลฯ
- ครูตั้งคำถามชวนคิด
นักเรียนจะมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนต้นไม้ได้อย่างไร
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนเตรียมเมล็ดพันธุ์ไม้ยืนต้นที่หาได้ง่ายในชุมชนอย่างน้อยคนละอย่างน้อย
2-3 ชนิด
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ใช้
ครูและนักเรียนไปทำการหยอดเมล็ดพันธ์ที่ป่าโคกหีบ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- เมื่อนักเรียนได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่า นักเรียนเห็นอะไรจากการเดินป่า
และเรียนรู้อะไรบ้าง
-
คุณค่าของป่านอกเหนือจากที่ไปเดินป่าโคกหีบนั้นนักเรียนรู้คุณค่าอะไรอีกบ้าง/อย่างไร?
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการใช้ชีวิตในป่าและการเรียนรู้ในป่าและประโยชน์ของป่าที่นักเรียนแต่ละคนได้ไปค้นคว้ามาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
|
ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันถึงการไปป่าโคกหีบในครั้งนี้
- การวิเคราะห์ที่มนุษย์ให้แก่ป่าและสิ่งที่ป่าให้แก่มนุษย์
- การวางแผนพูดคุยการนำเสนอชิ้นงาน
- การจัดเตรียมเมล็ดพันธ์เพื่อไปหยอดในป่า
- การวิเคราะห์คุณค่าของป่า
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- Place mat
การวิเคราะห์ที่มนุษย์ให้แก่ป่าและสิ่งที่ป่าให้แก่มนุษย์
- ชาร์ตความรู้เรื่องคุณค่าและความสำคัญของป่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์3
|
ความรู้
สามารถอธิบายคุณค่าและความสำคัญของป่าที่มีต่อตนเอง
สิ่งมีชีวิตและคนในชุมชน
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้าง
สรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
ทักษะการแก้ปัญหา
- รู้จักแก้ปัญหาเมื่อโดนแมลงกัดต่อยหรือโดนหนามขูดในป่า
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- คิดสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าคุณค่าและความสำคัญของป่าโคกหีบได้
|
ตัวอย่างชิ้นงาน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบสัปดาห์นี้พี่ๆทำการวางแผนตระเตรียมเมล็ดพันธ์ไม้ยืนต้นต่างๆเพื่อเตรียมการไปเพิ่มต้นไม้คืนสู่ป่าโคกหีบ แต่ละกลุ่มวางแผนแบ่งงานกันว่าใครจะเตรียมเมล็ดพันธ์ชนิดใดและใครจะเป็นผู้เตรียมดินเหนียวที่จะใช้ในการห่อหุ้มเมล็ดพันธ์ ในวันอังคารทุกกลุ่มต่างพร้อมเพียงนำอุปกรณ์ที่เตรียมมาออกไปยังร่มไผ่ พี่นิว(ญ): ครูคะกลุ่มหนูไม่มีดินเหนียวค่ะ เพื่อนไม่ได้เตรียมมาค่ะ ครูดอกไม้จึงใช้คำถามกระตุ่นคิดว่า “แล้วพี่ๆจะทำอย่างไร?” ภายในกลุ่มจึงปรึกษากันและตกลงกันว่าจะขออนุญาตไปหาดินเหนียวที่บริเวณด้านหลังโรงเรียนโดยให้ครูหนูเป็นคนดูแล พี่เบ็ค: ครูครับทำไมต้องห่อเมล็ดพันธ์ด้วยดินเหนียวนะครับ พี่อ๋อมแอ๋ม: ก็เพราะดินเหนียวช่วยในการกักเก็บความชื่นไง เพราะถ้าเราเอาเมล็ดไปปลูกเลยอาจจะตายในหน้าแล้งก็ได้นะ พี่เอส: แล้วเมล็ดจะงอกได้ยังไงอะ ในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ครั้งนี่มีพี่ป.1 มาร่วมเรียนรู้ด้วย น้องๆก็เกิดข้อสงสัยเช่นกันว่าแล้วเมล็ดจะงอกได้ยังไงถ้าเอาดินมาห่อไว้ ครูดอกไม้จึงให้พี่ๆศึกษากระบวนการและปัจจัยการงอกของเมล็ดเพิ่มเติม ในวันพุธพี่ๆเตรียมชุดสำหรับเดินป่าและอุปกรณ์สำหรับจะโยนเมล็ดพันธ์มาอย่างพร้อมเพียงปรากฏว่าเมื่อถึงตอนบ่ายฝนเทลงมาอย่างหนัก พี่พลอย: ครูคะแล้วเราจะไปได้ไหใหมคะ พี่ออโต้: ต้องไปนะครับครูเราเตรียมตัวและตั้งใจแล้วนะครับ ในวันนั้นพี่ๆจึงรอให้ฝนซาแล้วจึงไปโยนเมล็ดพันธ์ตามที่วางแผนไว้ ขณะที่เดินไปป่าครูดอกไม้ถามพี่เอสว่าฝนตกแบบนี้เราทำไมยังต้องมาคะ พี่เอสตอบว่าเพราะมันคืองานและหน้าที่ของเราไงครับครู เนื่องจากฝนตกทำให้ทางเดินในป่าค่อนข้างแฉะทำให้พี่ๆได้เดินแค่บนถนนแล้วขว้างและใช้หนังสติกยิงเมล็ดพันธ์เข้าไปในป่า พี่นุ่น: ครูคะถ้าฝนไม่ตกนี้เราคงได้ไปวางเมล็ดพันธ์ในป่าส่วนที่มีต้นไม้น้อยๆนะคะ
ครูดอกไม้อยากให้พี่ป.6เห็นแนวโน้มของการลดลงพื้นที่ป่าประเทศไทย จึงนำบทความเกี่ยวกับการลดลงของป่าประเทศไทยมาให้พี่ๆได้อ่าน ในบทความมีKey word หลักพาดหัวสีแดงว่า “เราเหลือป่า 32% ของพื้นที่ประเทศ” โห!!!!!!!! ทำไมน้อยจังเลยครู แล้วถ้าลดลงเรื่อยๆแบบนี้ประเทศเราจะเหลือป่าไหมครับ/คะ ครูดอกไม้จึงให้พี่ดูแผนที่จาก Google map ว่าป่าในประเทศไทยเหลือน้อยเหมืนที่ในบทความเขียนหรือไม่ หลังจากดูเสร็จพี่ๆป.6 หลายคนบอกว่ารู้สึกแย่จังเลยครับ/ค่ะ ป่าในประเทศเราลดลงเรื่อยๆแบบนี้ ชาวบ้านยังไปปลูกมันในป่าโคกหีบอีก จากนั้นพี่ๆจึงได้ศึกษาที่มาและเรื่องราวความเป็นมาของป่าโคกหีบ และตีความจากโจทย์ที่ว่า “คุณค่าของป่าคืออะไร?” แต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนกันและสรุปสัปดาห์ที่สามค่ะ