เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า

2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอธิบายเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสง  การคายน้ำ และการปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของพืช
Week
Input
Process  
Output
Outcome
5



5-9
กันยายน
2559



โจทย์:
การทดลอง
เช่น การสังเคราะห์แสง  การคายน้ำและปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของพืช (ถั่วและข้าว)
Key Questions :
- ต้นไม้ชนิดใดให้ปริมาณออกซิเจนมากที่สุดและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีที่สุด?
-ต้นไม้ผลิตออกซิเจนได้อย่างไร?
-ต้นไม้มีกระบวนการอย่างไรในการผลิตออกซิเจน ?
-ถ้าไม่มีต้นไม้ เราจะได้ออกซิเจนจากแหล่งใด?
- แสงและน้ำมีผลต่อพืชอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Brainstormsระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับการทดลอง
- Show and Shareนำเสนอนิทานเกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การคายน้ำ การสังเคราะห์แสงและปัจจัยที่มีผลต่อการงอก
 สื่อ/อุปกรณ์
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- สีไม้
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูพานักเรียนสังเกตต้นถั่วที่มีการงอกออกมาว่าเป็นลักษณะอย่างไร
เชื่อม
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น ทำไมเมล็ดพันธุ์ที่นักเรียนนำมาปลูกจึงไม่ค่อยงอกมีเพียงบางส่วนซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่งอก?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เช่น เพราะความชื้นไม่พอ ดินไม่เหมาะสม อยู่ในร่ม ฯลฯ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าปัจจัยไหนบ้างที่มีผลต่อการงอก และจะวางแผนการทดลองเพื่อหาคำตอบสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างไร
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนจับกลุ่มออกแบบการทดลองเพื่อหาคำตอบจากโจทย์ที่ว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการงอกของพืช


วันอังคาร (ชั่วโมง)
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา
เชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนและออกแบบการทดลองเพื่อตอบโจทย์ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของพืช
ใช้
- แต่ละกลุ่มลงมือทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบการสังเกตผลการทดลองและในขณะเดียวกันก็ให้นักเรียนได้ทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำควบคู่กันไป โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ เพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทดลองการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช
- นักเรียนทดลองการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจากการทดลองมานำเสนอและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
-นักเรียนสรุปสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอแต่ละกลุ่มลงในสมุด
บันทึก
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการเดินป่าในตอนเช้าและตอนบ่ายเหมือนหรทอต่างกันอย่างไร(flip classroom)

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม:ครูและนักเรียนเดินสำรวจระบบนิเวศภายในป่าโคกหีบในตอนเช้า

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชงครูให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทดลอง
เชื่อม
นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- การทดลองและสรุปผลการทดลอง
- การเดินสำรวจป่าในตอนเช้า
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ชิ้นงาน
- ทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสง  การคายน้ำ และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของพืช
-สรุปรายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายการสังเคราะห์แสง  การคายน้ำ และการปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของพืช
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถอธิบายการใช้อุปกรณ์ในการสร้างชิ้นงานได้
- สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
- สามารถมองเห็นข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย
ทักษะการจัดการข้อมูล:
- สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการทำชิ้นงานได้
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
- สามารถการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
คุณลักษณะ
- เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
- มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ


ตัวอย่างกิจกรรม

















ตัวอย่างชิ้นงาน













สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้เป็นเรื่องของการสังเคราะห์แสงและกระบวนการงอกของเมล็ดแต่เนื่องด้วยในสัปดาห์ที่สามพี่ๆได้นำเมล็ดพันธ์ปลูกที่ป่าโคกหีบ พี่ๆจึงได้ศึกษากระบวนการงอกของเมล็ดตั้งแต่ในสัปดาห์นั้นแล้ว สัปดาห์นี้จึงเน้นไปที่กระบวนการสังเคราะห์แสงและกระบวนการคลายน้ำของพืช ครูได้ให้พี่ๆแบ่งเป็นหกกลุ่มกลุ่มละสี่คน โดยให้สามคนภายในกลุ่มสืบค้นข้อมูลจากหนังสือและอินเทอร์เน็ต ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก1 คนจะทำหน้าที่ออกไปสังเกตจากต้นไม้ต่างๆภายในโรงเรียน โดยครูจะกระตุ้นด้วยคำถามอยู่เป็นระยะเช่น ทำไมใบไม้ถึงมีสีเขียว?, ด้านบนกับด้านล้างของใบเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?, ต้นไม้แต่ละชนิดมีใบเหมือนกันหรือไม่อย่างไร? พี่พัส: ครูครับถ้าพืชคลายน้ำก็แสดงว่ามันต้องกันเข้าไปแล้วมันกินยังไงครับ? พี่นิว(ญ): แล้วที่บอกว่าเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปมันมาจากไหนคะครู? พี่ก้อย: ครูคะแล้วทำไมสีของใบไม้ไม่เหมือนกันหละคะ บางใบเหลืองอ่อนๆ บางในสีเขียงเข้มและบางใบยังมีสีแดงด้วยนะคะ? พี่จู: ครูคะแล้วอันที่เป็นเส้นๆย้อยๆลงมาไม่เห็นมีใบสีเขียวเลยค่ะใบเขาอยู่ตรงไหนคะ? คำถามและข้อสงสัยจากพี่ๆพรั้งพรูออกมาอย่างมากมาย ครูดอกไม้จึงถามพี่ๆที่ออกมาสังเกตว่า การที่เราได้มาสังเกตแบบนี้กับการที่เราค้นข้อมูลจากหนังสือเหมือนหรือต่างกันยังไง? พี่เบ็ค: เราออกมาแบบนี้เราจะเป็นคนตั้งคำถามครับเราจะไม่ได้จดตามที่หนังสือเขียนไว้อย่างเดียว พี่นิว(ญ): เรายังได้เห็นและได้สัมผัสจริงๆอีกด้วยค่ะ จากนั้นพี่ๆแต่ละกลุ่มจึงได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันทั้งจากการสังเกตและการสืบค้นข้อมูล
    เวลา 5.30 น. ของเช้าวันพุธคือเวลานัดหมายที่พี่ๆและคุณครูจะออกเดินป่าเพื่อพิสูจน์การคลายน้ำของพืชล่วงเลยเวลามาหลายนาทีพี่ๆหลายคนอยากเดินแต่สมาชิกยังไม่มาครบ หลายคนเริ่มขาดสติว่าเรามารอแต่เช้าทำไมเพื่อนยังไม่มา ครูณีจึงบอกกับพี่ๆว่า “ครูณีอยากให้ทุกคนรอพี่บูมเพราะเราทุกคนคือพี่ป.6” เมื่อพี่บูมมาถึงพี่ๆผู้ชายวิ่งเข้าไปหาถามไถ่ด้วยความเป็นห่วง นี้คือการเริ่มต้นวันที่มีความหมายจริงๆ ขณะเดินครูดอกไม้จะกระตุ้นด้วยคำถามอยู่เป็นระยะ เช่น พี่ๆลองสำรวจหน่อยค่ะว่าในป่าโคกหีบพืชชนิดไหนคลายน้าได้มากกว่ากัน?, ถ้าไม่มีต้นไม่เราจะได้ออกซิเจนจากที่ไหนคะ? พี่เอส: ครูครับๆๆ ต้นนี้คลายน้ำเยอะมากเลยครับ เพื่อนๆต่างพากันรีบวิ่งกรูมาดูแล้วเสียงหัวเราะก็ดังขึ้นสนั่นพร้อมกัน พี่ออโต้: นี้มันไม่ใช้การคลายน้ำนี้มันน้ำค้าง เรียกรอยยิ้มและคลายความง่วงเหงาหาวนอนไปได้ดีเลยทีเดียว
    หลังจากกลับจากป่าพี่ๆมาทานข้าวร่วมกันที่โรงอาหารและได้ไปเข้าแถวในชุดเดินป่า พี่ก้อย: ครูค่ะมีแต่คนมองเราเลยค่ะ55 จากนั้นทุกคนก็ทำการอาบน้ำชำระล้างร้างกายและเข้าเรียนตามปกติ ขณะที่ครูดอกไม้,ครูหนูและครูณีสลับกันไปอาบน้ำครูภรได้ชวนพี่ๆป.6 ทำTimeline การเดินป่าในครั้งนี้แล้วพี่ๆจึงได้ออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์การคลายน้ำของพืช แต่ละกลุ่มก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไปแต่กระบวนการสำคัญคือแต่ละกลุ่มต้องให้เหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเลือกวิธีนั้นๆ จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงได้มาเลือเปลื่อนถึงวิธีการขั้นตอนและผลการทดลองของแต่ละกลุ่มและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ