เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า

2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่าน Mind Mapping (ก่อนเรียน) และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้
Week
Input
Process  
Output
Outcome













2

15-19
สิงหาคม
2559

โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarterนี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
- ป่าให้อะไรกับนักเรียนได้บ้าง/อย่างไร?
Brainstorm :  ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
Backboard Share : ปฏิทินการเรียนรู้
Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
Mind Mapping : สรุปความเข้าใจก่อนเรียน
Infographic : สารอาหารและวิธีการตรวจสอบ
Wall Thinking ปฏิทินการเรียนรู้แผ่นใหญ่
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี      
- บรรยากาศในห้องเรียน


วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
เชื่อม
- นักเรียนออกแบบปฏิทินการเรียนรู้รายบุคลจากสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
นักเรียนแบ่งกลุ่มช่วยกันวางแผนการเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอปฏิทินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาของทั้ง 10 สัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิดBackboard Share
ใช้
แบ่งนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คนช่วยกันคิดรูปแบบกิจกรรม ชิ้นงาน แหล่งเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาที่วางแผนไว้ โดยบันทึกแบบร่างลงในกระดาษA3 ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorm นำเสนอครูและเพื่อน ครูและเพื่อนเสนอแนะเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ผ่านเครื่องมือคิด 
Show and Share

วันอังคาร (ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด การดำเนินงานในการออกแบบปฏิทินในวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและแก้ปัญหานั้นอย่างไร?”
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
เชื่อม
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามสอดคล้องกับหน่วย
ชง 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถามในขั้นชง
ใช้
- นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนผ่านเครื่องมือคิด
 Mind Mapping

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ป่าให้อะไรกับนักเรียนได้บ้าง/อย่างไร?” ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม
- นักเรียนเดินป่าโคกหีบเพื่อสำรวจว่าป่าให้อะไรเราได้บ้าง
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปสิ่งที่ได้จากป่าโดยจัดกระทำในรูปแบบของการ์ตูนช่อง

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด การเดินในวันที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและแก้ปัญหานั้นอย่างไร?”

เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม

วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม จากการเดินป่าในวันพุธที่ผ่านมานักเรียนคิดว่ามีสิ่งใดบ้างที่เป็นสิ่งแปลกปลอมในป่าแล้วนักเรียนจะทำอย่างไร?”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

ภาระงาน
การระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
การนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
การสรุปความเข้าใจก่อนเรียน
- การเดินป่าโคกหีบเพื่อสำรวจว่าป่าให้อะไรเราได้บ้าง
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากป่าผ่านการ์ตูนช่อง
- การอภิปรายร่วมกันจากปัญหาที่ได้พบเจอจากการเดินสำรวจป่า
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
ปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
- Mind Mappingสรุปความเข้าใจก่อนเรียน
- การ์ตูนช่อง “ป่าให้อะไรเราบ้าง”
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping (ก่อนเรียน) และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้
ทักษะ 
ทักษะชีวิต
ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับโครงงานได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ กรรไกร
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผลได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
- วางแผนในการเดินป่าได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
 คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหน่วย
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

 ########
ตัวอย่างกิจกรรม

















ตัวอย่างชิ้นงาน













สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    เนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมาตรงกับวันหยุด(วันแม่แห่งชาติ) จึงทำให้พี่ป.6 ต้องตั้งชื่อหน่วยกันในสัปดาห์นี้ พี่ๆได้ตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share และได้ชื่อหน่วยออกมาว่า “เสียงกระซิบจากผืนป่า” จากนั้นพี่ๆจึงได้ช่วยกันออกแบบวาดภาพเขียนชื่อหน่วยเพื่อติดหน้าชั้นเรียน การทำชื่อหน่วยในครั้งนี่พี่ป.6 ใช้ภาพลายเส้นขาวดำแทนการใช้สี ภายในตัวอักษรแต่ละตัวจะมีรูปภาพที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนซ้อนอยู่ในตัวอักษรทุกตัว การทำงานครั้งนี้ทำให้เห็นความตั้งใจของพี่ๆ เห็นความพยายาม ค่อยๆวาดทีละรูปลงเส้นเรียงร้อยเรื่องราวอย่างตั้งใจ เห็นการจัดการที่พัฒนาขึ้นโดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจนและทุกคนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี ทำให้ทั้งชื่อหน่วยและสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้สำเร็จได้ภายในหนึ่งวัน จากนั้นพี่ๆจึงได้ออกแบบการเรียนรู้ทั้ง 9 สัปดาห์ ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Black Board Share แต่ละกลุ่มคิดออกแบบกิจกรรมและทำชิ้นงานอย่างตั้งใจ ในวันพุธพี่ๆป.6 ได้เดินสำรวจป่าโคกหีบอีกครั้ง โดยโจทย์ในการเดินครั้งนี้คือ “เราจะให้อะไรแก่ป่าได้บ้าง/อย่างไร?/ต้นไม้ต้องการสื่อสารอะไรกับเรา?” ในครั้งนี้มีคุณครูร่วมเดินทางหลายคน พี่ๆจึงได้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เดินสำรวจคนละเส้นทาง กลุ่มครูดอกไม้ มีสมาชิกคือ พี่ออโต้,พี่นุ่น,พี่หยีและพี่ฟิวส์ เราไม่ได้เดินกันตามทางเดิน แต่เดินลัดเลาะเข้าไปในป่า พี่ๆตื่นเต้นที่ๆได้เจอต้นไม้แปลกๆหลายต้น และคำถามแห่งการเรียนรู้ก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เช่น ครูคะทำไมถึงไม่มีต้นไม่ขนาดใหญ่เลยคะทั้งที่ป่าผืนนี้มีมาตั้งนานแล้ว นะคะ?, ครูครับนี้มันปูนที่ใช้ก่อสร้างทำไมมาอยู่กลางป่าเลยครับ?,ครูคะทำไมป่าด้านนี้สมบูรณ์กว่าฝั่งด้านนั้นที่เราไปสำรวจเมื่อครั้งที่แล้วคะ? ฯลฯ
    หลังจากการเดินสำรวจป่าพี่ๆได้AARถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และตอบคำถามจากโจทย์ที่ได้รับ จากนั้นแต่ละคนก็ทำการสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนของตนเองและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบการ์ตูนช่องค่ะ

    ตอบลบ